Category Archives: สัตว์

จามรีมีจุดเด่นคือ มีขนที่ยาวมากและละเอียดอ่อน

จามรีมีจุดเด่นคือ มีขนที่ยาวมากและละเอียดอ่อน สีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ หรือสีขาว เฉพาะบริเวณสวาบจะมีสีดำห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ พบกระจายพันธุ์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ของเอเชียกลาง, ในที่ราบสูงทิเบต และเหนือไปจนถึงมองโกเลียและรัสเซีย ซึ่งเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น จามรีที่มีอยู่โดยมากเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ก็มีจามรีป่าจำนวนหนึ่งที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

จามรี เป็นสัตว์ที่มนุษย์ผูกพันมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะชนพื้นเมือง เช่น ชาวทิเบต, ชาวภูฏาน, ชาวเชอร์ปา เป็นต้น ด้วยการเลี้ยงในฐานะปศุสัตว์ มีการบริโภคเนื้อและนมของจามรีเป็นอาหาร อีกทั้งขนของจามรีก็ใช้เป็นเครื่องนุ่มห่ม และเป็นสัตว์พาหนะ ซึ่งจามรีสามารถที่จะบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักและเป็นพาหนะในการเดินขึ้นเขาหรือที่ราบสูงได้เป็นอย่างดี จามรีเป็นสัตว์ค่อนข้างเชื่อง แต่มักจะตื่นกลัวคนแปลกหน้า

จามรีในธรรมชาติ เมื่อพบกับศัตรูหรือผู้คุกคามจะหันบั้นท้ายมาชนกัน จะตีวงล้อมลูกอ่อนหรือจามรีวัยอ่อนให้อยู่ตรงกลาง เพื่อป้องกัน จามรี เป็นญาติของวัว การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียน เพื่อสืบประวัติวิวัฒนาการของจามรี ให้ผลที่ไม่ชัดเจน คืออาจจะแยกสายพันธุ์ออกจากวัวระหว่าง 1-5 ล้านปีก่อน แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่อาจแสดงว่า เป็นญาติใกล้ชิดกับสกุล Bison มากกว่าสัตว์ที่จัดเป็นสกุลเดียวกัน มีการพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์พันธุ์ญาติ ในรัสเซียตะวันออก ซึ่งอาจแสดงเส้นทางที่เป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษคล้ายจามรีของกระทิงอเมริกัน ได้อพยพเข้าไปสู่ทวีปอเมริกาได้อย่างไร

จามรีดั้งเดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos grunniens แปลว่า โคคำราม โดยลินเนียส แต่ชื่อนี้ ปัจจุบันใช้เรียกสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่ใช้ชื่อว่า โคเงียบ สำหรับพันธุ์ป่า แม้ว่า นักวิชาการบางท่านจะยังพิจารณาจามรีป่าว่าเป็นชนิดย่อ แต่องค์กรมาตรฐานสากล ได้ตัดสินอย่างเป็นทางการ สำหรับจามรีป่า ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบการใช้ชื่อที่สามัญกว่า ยกเว้นในกรณีที่นับจามรีป่าว่าเป็นชนิดย่อย จามรีถือว่าไม่มีชนิดย่อยอื่น ๆ

บ่าง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร

บ่าง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ ผิวหนังย่น ตามีขนาดใหญ่สีแดง ใบหูเล็ก มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว สีขนมีหลากหลายมาก โดยสามารถเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ทั้งน้ำตาลแดง หรือเทา รวมทั้งอาจมีลายเลอะกระจายไปทั่วตัวด้วย โดยตัวเมียมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ หางมีลักษณะแหลมยาว มีพังผืดเชื่อมติดต่อกันทั่วตัว โดยเชื่อมระหว่างขาหน้าและขาหลัง ขาหลังกับหาง ระหว่างขาหน้ากับคอ และระหว่างนิ้วทุกนิ้ว มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่ไม่มีหัวแม่มือ เล็บแหลมคมมากใช้สำหรับไต่และเกาะเกี่ยวต้นไม้ มีความยาวหัวและลำตัวโตเต็มที่ราว 34-42 เซนติเมตร หาง 22-27 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.8 กิโลกรัม

บ่างอาศัยและหากินอยู่บนต้นไม้สูง และสามารถอาศัยได้ในป่าทุกสภาพ ไม่เว้นแม้กระทั่งป่าเสื่อมโทรม หรือตามเรือกสวนไร่นาที่มีการทำเกษตรกรรม บ่างเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถเดินบนพื้นดินได้ เมื่อตกลงพื้นจะรีบกระเสือกกระสนตัวเองปีนขึ้นสู่ต้นไม้ทันที เนื่องจากบ่างก็สามารถตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ ได้ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนตามยอดไม้หรือโพรงไม้ กินอาหารจำพวกพืช ได้แก่ ยอดไม้, ดอกไม้ เป็นหลัก แต่จากการศึกษาด้วยเครื่องติดตามตัวของบ่างที่เกาะชวา โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า บ่างเป็นสัตว์ที่ช่างเลือกกิน โดยจะกินยอดไม้จากต้นไม้เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น และบ่างตัวเมียจะมีอาณาเขตการหากินที่ชัดเจน แน่นอน ส่วนตัวผู้จะไต่ต้นไม้และร่อนไปทั่ว บ่างสามารถร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่งได้ไกลกว่ากระรอกบินมาก โดยใช้นิ้วและผังผืดเป็นตัวควบคุมความเร็วและระยะทางระหว่างร่อน ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 60 วัน ออกลูกครั้งละตัว เนื่องจากแม่บ่างสามารถรับน้ำหนักลูกได้เพียงคราวละตัว ลูกบ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้ายสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ ผังผืดระหว่างขาจึงทำหน้าที่เหมือนเปลเลี้ยงลูกเป็นอย่างดีคล้ายสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง แม้ยามมีลูกอ่อน แม่บ่างก็ร่อนหาอาหารได้เหมือนเดิม โดยลูกบ่างจะยึดเกาะขนที่หน้าท้องแม่ไว้แน่น ลูกบ่างจะกินมูลของแม่ เนื่องจากภายในมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ขณะที่แม่บ่างเมื่อเลียตัวทำความสะอาดลูกอาจเลียฉี่ของลูกบ่างไปด้วย ลูกบ่างจะเกาะอาศัยอยู่กับแม่จนกว่าอายุได้ 2-3 ปี จึงแยกตัวออกไปหากินเองเป็นอิสระ จากนั้นแม่บ่างจึงจะมีลูกใหม่ แต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของบ่างยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด

เต่า จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น

เต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน

โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า “เต่าบก” ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ

เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน เต่าตนุ เต่ามะเฟือง เต่ากระ , เต่าตนุหลังแบน , เต่าหญ้าแอตแลนติก , เต่าหญ้า โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก